ระบบสี CMYK คืออะไร และเหมาะสำหรับการทำงานแบบไหน

ระบบสี cmyk

Table of Contents

สำหรับสายงานกราฟิก (Graphic) ในปัจจุบันนี้มีระบบสีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบสี CMYK / ระบบสี RGB / ระบบสี HSB หรือระบบสี LAB เป็นต้น ซึ่งแต่ละระบบก็มีจุดเด่น-จุดด้อยแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการใช้งานที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย แต่หากพูดถึงระบบสีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นระบบสี CMYK

ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยและตั้งคำถามว่า ระบบสี CMYK คืออะไร เหมาะสำหรับการทำงานแบบไหน และระบบสี RGB กับ CMYK ต่างกันอย่างไร ดังนั้นแล้ว บทความนี้เราจะพาท่านไปหาคำตอบด้วย เพื่อไขข้อสงสัยและประกอบการพิจารณาเลือกใช้งานระบบสีที่เหมาะสำหรับท่านมากที่สุด

ทำความรู้จักกับ ระบบสี CMYK Color คืออะไร?

มั่นใจได้เลยว่าเลยคนสงสัยว่า ระบบสี CMYK มีสีอะไรบ้าง? ซึ่งคำตอบคือ 4 สีด้วยกัน ได้แก่ Cyan (สีฟ้า) Magenta (สีแดงอมม่วง) Yellow (สีเหลือง) Key (สีดำที่แตกต่างจาก Black ทั่วไป) โดยระบบสี CMYK เป็นการพิมพ์งานผ่านการใช้สีทั้งหมด 4 สีที่กล่าวไปข้างต้นรวมกัน เพื่อให้เกิดภาพต้นฉบับตามที่ต้องการ จึงทำให้ระบบสี CMYK เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นงานโปสเตอร์ งานแผ่นพับ หรือแม้แต่งานไวนิลต่าง ๆ โดยการกำหนดค่าสี CMYK สามารถกำหนดได้แต่ละสีคือ 0 – 100
อย่างไรก็ตาม สำหรับงานหนังสือ ในบางกรณีนั้นจะพิมพ์ CMYK แค่ปกหนังสือเท่านั้น ส่วนเนื้อในหนังสือจะพิมพ์เพียงแค่สีดำ หรือพิมพ์ 2 สี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสีที่ผสมผสานระหว่าง K และอีก 1 สี หรือก็คือ CMY สีใดสีหนึ่งนั่นเอง นอกจากนี้ ปกติแล้วการกำหนดค่าสีสำหรับงานที่ต้องการส่งโรงพิมพ์ จะใช้ระบบสี CMYK เท่านั้น เพื่อลดปัญหาการเกิดความผิดเพี้ยนจากหน้าจอ จึงต้องกำหนดแบบ CMYK สำหรับค่าสีที่แน่นอนนั่นเอง

ระบบสี RGB คืออะไร?

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างระบบสี RGB กับ CMYK เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าระบบสี RGB คืออะไร ซึ่งหากพูดถึงระบบสี RGB ถือได้ว่าเป็นระบบสีที่คนส่วนใหญ่ต่างคุ้นเคยกันดีมากกว่าระบบสี CMYK เสียอีก เนื่องจากเป็นที่นิยมใช้สำหรับงานจำพวกเว็บไซต์ สื่อโฆษณาออนไลน์ อีเมลการตลาด หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือระบบสีที่แสดงผลบนหน้าจอ โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา

โดยการกำหนดค่าสี RGB มีความกว้างของสีอย่างมาก ซึ่งสามารถเลือกได้มากถึง 2 – 16 ล้านสี ผ่านการผสมผสานกันของสีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ Red (สีแดง) Green (สีเขียว) และ Blue (สีน้ำเงิน) ซึ่งจะกำหนดค่าสีได้ตั้งแต่ 0 – 255 (CMYK Color 0 – 100) ยกตัวอย่างเช่น R = 0, G = 174, B = 239 หรือก็คือ Code สีที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี ซึ่งขึ้นต้อนด้วยเครื่องหมาย # นั่นเอง

ระบบสี RGB กับ CMYK ต่างกันอย่างไร?

หากพูดถึงระบบสีแล้ว เชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับระบบสี RGB กับ CMYK อย่างแน่นอน เพราะถือได้ว่าเป็นระบบสีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน แต่กระนั้น ระบบสี RGB กับ CMYK ต่างกันอย่างไรกันหละ? บทความนี้มีคำตอบให้แก่ท่าน

ความสดใส

จากการเปรียบเทียบระบบสีทั้งสองแบบที่กล่าวไปข้างต้น ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ ความสดใส ซึ่งระบบสี RGB จะมีความสดใสมากกว่า เนื่องจากมีช่วงสีที่กว้างกว่าระบบสี CMYK 

การผสมสี

ระบบสี RGB ใช้การผสมผสานสีที่มีพื้นฐานมาจาก 3 สีหลัก ๆ คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เป็นหลัก แต่ระบบสี CMYK ผสมสีจาก 4 สีด้วยกัน ได้แก่ สีฟ้า (Cyan) สีแดงอมม่วง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Key) ซึ่งด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สีของงานออกมาแตกต่างกันนั่นเอง

การใช้งาน

สำหรับงานพิมพ์สีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในการพิมพ์อย่างเช่น งานพิมพ์บนกระดาษ หนังสือ ป้าย หรือบิลบอร์ด จะต้องใช้ระบบสี CMYK เท่านั้น แต่ระบบสี RGB ใช้สำหรับงานสื่อออนไลน์หรือดิจิทัล ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หรือสมาร์ตโฟน 

โปรแกรมที่นิยมใช้ออกแบบ

การสร้างไฟล์งานพิมพ์ เพื่อส่งโรงพิมพ์ นักออกแบบต้องมั่นใจว่าไฟล์งานที่ใช้เป็นไฟล์งาน โหมดสี CMYK เพื่อให้งานพิมพ์ที่ได้ไม่มีความผิดพลาด หรือเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยปกติแล้ว โปรแกรมที่นักออกแบบงานต่าง ๆ เลือกใช้เป็นหลักคือ โปรแกรม Adobe Photoshop / โปรแกรม Adobe Illustrator และโปรแกรม Adobe InDesign เพราะเป็นโปรแกรมที่มีมาตรฐาน เกิดความผิดพลาดได้น้อย 

แต่ทั้งนี้ยังมีโปรแกรมอื่น ๆ อีกไม่น้อยเช่นเดียวกันที่มีประสิทธิภาพสำหรับงานออกแบบต่าง ๆ ซึ่งก่อนเลือกใช้โปรแกรมใด ๆ ควรทำความเข้าใจให้ละเอียดก่อนใช้งาน เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามความต้องการมากที่่สุดนั่นเอง 

เปรียบเทียบสี Pantone กับ CMYK

ความแตกต่างระหว่างระบบสี Pantone กับ CMYK คือ หาส่องขยายงานที่พิมพ์ด้วยระบบสี CMYK จะพบว่าเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกัน ต่างจาก Spot Color ของ Pantone ที่จะเป็นสีนั้น ๆ เลย 100% ซึ่งไม่ได้เกิดจากการผสมสีเหมือนกับ CMYK ดังนั้นแล้ว สีจาก Spot Color ของ Pantone จะมีความคมชัดและให้สีที่อิ่มกว่านั่นเอง

บทสรุป

อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกใช้งานระบบสี ไม่ว่าจะงานพิมพ์ประเภทไหน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การเลือกระบบสี ซึ่งจำเป็นต้องเลือกให้ดีก่อนการออกแบบว่าจะนำงานไปใช้ในระบบใด หากนำงานระบบสี RGB ไปใช้สำหรับงานพิมพ์จะทำให้สีที่ออกมาผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามความต้องการ หรือหากนำงานออกแบบระบบสี CMYK ไปใช้งานสื่อออนไลน์ ภาพที่ออกมาก็จะเพี้ยนเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกใช้งานระบบสีให้ตรงกับงานที่ต้องการ

สำหรับใครที่กำลังสนใจออกแบบและพิมพ์สติ๊กเกอร์สามารถติดต่อไปที่ Home Packaging ร้านรับทำสติ๊กเกอร์ที่รับประกันเรื่องคุณภาพและการผลิตสติ๊กเกอร์ได้อย่างครบวงจร โดยการใช้เครื่องพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ดีและตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด สามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 098-824-6197 

Facebook
Twitter
Email
Pinterest

ปรึกษาฟรี

โทร.098-824-6197