สกรีน DTF คืออะไร และ DTG DFT/DTF แตกต่างกันอย่างไร

Table of Contents

เชื่อว่าหลายคนที่สนใจเกี่ยวกับการสกรีนเสื้อ กางเกง หรือกระเป๋า จะต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับการสกรีน DTF หรือ DFT และการสกรีน DTG ซึ่งเป็นรูปแบบของการสกรีนที่มีความแตกต่างกัน และแน่นอนว่าในปัจจุบันอาจจะคุ้นเคยกับการสกรีนแบบ DTF หรือ DFT เพราะเป็นการสกรีนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการพิมพ์หรือสกรีนในปัจจุบัน 

สกรีน DTF คืออะไร

DTF (Direct to Film) คือ การพิมพ์สกรีนที่ใช้เทคนิคที่มีความทันสมัยและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะมีหลักการพิมพ์ คือการพิมพ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนแผ่นฟิล์มพิเศษ จากนั้นจะนำไปรีดลงบนวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสกรีนลงไปได้อย่างสวยงาม

โดยปกติแล้ว มักจะพบการสกรีน DTF ในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานย้อมผ้า หรือโรงงานสิ่งทอ รวมถึงสินค้าต่าง ๆ ที่มีการใช้งานกันโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น เสื้อ กางเกง หมวก ผ้ากันเปื้อน หรือกระเป๋า เป็นต้น จึงเรียกได้ว่าเป็นการสกรีนที่สามารถใช้งานได้กับสินค้าหลากหลายอย่างมากนั่นเอง

ข้อดี

  • เป็นรูปแบบการสกรีนที่สามารถพิมพ์ได้บนวัสดุหลายชนิด
  • มีสีสันสดใสและมีความคมชัด 
  • ยืดหยุ่นได้ตามเนื้อผ้า ไม่แข็งกระด้าง
  • เหมาะกับการพิมพ์จำนวนมาก ต้นทุนต่ำกว่าการสกรีนรูปแบบอื่น ๆ
  • สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว สะดวกสบาย
  • ทำได้กับทั้งผ้าสีเข้มและสีอ่อน
  • ดูแลรักษาง่าย ทนต่อการซัก

ข้อเสีย

  • ขณะสวมใส่หรือใช้งาน อาจจะรู้สึกถึงเนื้อฟิล์มบนผ้าเล็กน้อย
  • คุณภาพของฟิล์มและกาวที่ใช้ ส่งผลต่อความทนทานในการซัก

ความแตกต่างของ DTG และ DFT/DTF 

การสกรีนแบบ DFT เป็นรูปแบบของการพิมพ์แบบเดียวกับสกรีน DTF ที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยจะเป็นการเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละวงการเท่านั้น แต่หากพูดถึงหลักการหรือกระบวนการทำงาน จะเป็นการใช้แผ่นฟิล์มพิเศษแล้วนำไปรีดลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่นเดียวกับการสกรีน DTF นั่นเอง

ส่วนการสกรีนแบบ DTG (Direct to Garment) เป็นรูปแบบของการพิมพ์ลงบนเนื้อผ้าโดยตรง ซึ่งจะเหมาะสำหรับการพิมพ์ลงบนผ้าคอตตอน 100% หรือผ้าฝ้าย และสีของผ้า ควรจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน จะให้ได้สีที่คมชัดและมีความสวยงามมากที่สุด แต่สำหรับการสกรีน DTG จะเป็นการสกรีนที่มีราคาสูง เหมาะกับการพิมพ์ในจำนวนน้อยมากกว่าการพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ความแตกต่างของการสกรีน DTG และ DTF หรือ DFT อันดับแรกเลยก็คือ วิธีการพิมพ์ เนื่องจากการสกรีน DTG เป็นการพิมพ์โดยตรงลงบนผ้า ส่วนการสกรีน DTF หรือ DFT เป็นการพิมพ์ลงบนฟิล์มแล้วค่อยรีดลงบนผ้าอีกที 

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ชนิดของผ้าที่สามารถนำมาสกรีน เนื่องจากการสกรีน DTF หรือ DFT สามารถพิมพ์ลงบนผ้าได้หลายชนิดมากกว่า และสามารถใช้งานได้ดีกับงานพิมพ์จำนวนมาก ในขณะที่การสกรีน DTG เหมาะกับงานพิมพ์จำนวนน้อย หรือภาพถ่ายมากกว่า

งานสกรีนแบบไหนที่นิยมพิมพ์ลงบนเสื้อผ้า

งานสกรีนที่ได้รับความนิยมสำหรับการพิมพ์ลงบนเสื้อผ้า กางเกง กระเป๋า หรือการพิมพ์ลงบนสินค้าต่าง ๆ มีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เพื่อความสวยงาม การโฆษณา หรือเพื่อเสริมความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์หรือสินค้าต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การพิมพ์โลโก้ และการพิมพ์ลายต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงแบรนด์หรือบริษัท เป็นต้น 

ซึ่งการพิมพ์เหล่านี้ นอกจากจะเพิ่มความสวยงามแล้ว ยังเป็นการสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าอีกด้วย เพราะในปัจจุบัน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ล้วนมีคู่แข่งทางการตลาดไม่มากก็น้อยอยู่เสมอ ดังนั้น การเพิ่มเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของสินค้าด้วยการสกรีนหรือพิมพ์ลาย จึงมีความสำคัญและจะช่วยให้ได้เปรียบทางธุรกิจอีกด้วย

เลือกงานสกรีนแบบไหนดี? เหมาะสมที่สุด

การเลือกรูปแบบของงานสกรีนให้เหมาะสม จะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ จำนวนที่ต้องการสั่งทำ รวมถึงจุดประสงค์ในการใช้งาน เนื่องจากการสกรีนแต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมที่แตกต่างกัน อย่างที่เราได้แนะนำไปข้างต้น ซึ่งเจ้าของบ้านหรือผู้ใช้งานทุกคนควรจะศึกษารูปแบบและหลักการทำงานอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะสามารถเลือกรูปแบบของงานสกรีนได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด

นอกจากงานสกรีนแล้ว อีกหนึ่งรูปแบบคือการเพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้า คือการทำสติ๊กเกอร์โลโก้ หรือสติ๊กเกอร์กราฟิกต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเป็นแบรนด์ หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งควรจะเลือกร้านทำสติ๊กเกอร์ที่มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 

และจะต้องมีบริการออกแบบสติ๊กเกอร์ได้ตรงตามความต้องการและมีคุณภาพดี เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

บทสรุป

งานสกรีนแต่ละรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น DTG และ DTF หรือ DFT ล้วนแต่เป็นการพิมพ์ลงบนวัสดุหรือเนื้อผ้า รวมถึงจำนวนในการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบของการพิมพ์ เพื่อให้มีความคุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุด 

Facebook
Twitter
Email
Pinterest

ปรึกษาฟรี

โทร.098-824-6197