ฉลากอาหาร เป็นการแสดงข้อมูลหรือคุณค่าทางโภชนาการที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งในทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้บริโภคหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ฉลากสินค้าอาหาร ฉลากโภชนาการกลายมาเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะต้องดูให้มั่นใจก่อนเลือกซื้อ เพื่อการเลือกซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความปลอดภัย รวมถึงความเหมาะสมกับความต้องการของสุขภาพของผู้บริโภคทุกคนด้วยเช่นกัน
โดยในบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมตอบข้อสงสัยว่าการแสดงฉลากอาหาร มีความสำคัญอย่างไร? ฉลากอาหารมีอะไรบ้าง? ฉลากสินค้า มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคสามารถอ่านฉลากหรือป้ายโภชนาการ เพื่อการบริโภคที่ดีและเหมาะสมมากที่สุด
ฉลากอาหารที่ดี ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง
โดยปกติแล้ว ฉลากอาหารที่ดีและมีคุณภาพ จะต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้านั้น ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้เป็นการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัย ตรงต่อความต้องการเพื่อสุขภาพของตัวเอง ดังนี้
- ชื่ออาหารและปริมาณสุทธิ เพื่อให้เข้าใจลักษณะและปริมาณสุทธิของสินค้าได้ดียิ่งขึ้นและเพื่อการเปรียบเทียบราคาต่อหน่วยของสินค้า ๆ ด้วยเช่นกัน
- ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาหาร เพื่อตรวจสอบได้ง่ายหากเกิดอาการแพ้ส่วนประกอบใด ๆ ก็ตามในอาหารชนิดนั้น
- เลขอย. 13 หลัก ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากที่ต้องติดอยู่บนอาหารทุกชนิดเพื่อความปลอดภัย
- ฉลากโภชนาการ ซึ่งมีข้อมูลต่าง ๆ ทางโภชนาการ เพื่อสามารถควบคุมปริมาณในการบริโภคได้อย่างเหมาะสม
- วันผลิตและวันหมดอายุ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมาก แถมยังช่วยให้เลือกอาหารที่มีความสดใหม่และมีคุณภาพดี ที่สำคัญ ผู้บริโภคจะต้องตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารก่อนซื้อทุกครั้ง
- วิธีเก็บรักษา สำหรับอาหารแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม
- คำเตือนและข้อควรระวังในการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ๆ รวมถึงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร หรือคำเตือนในการปรุงอาหาร เป็นต้น
- ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต เพื่อให้ทราบถึงชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตว่ามีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยหรือไม่
หากสงสัยว่าฉลากอาหารจะพบในสินค้าประเภทใดบ้าง? บอกได้เลยว่าสามารถพบได้ทั้ง ฉลากขนมขบเคี้ยวและของหวาน, อาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป, เครื่องดื่ม, วัตถุดิบปรุงอาหาร, อาหารกระป๋องและบรรจุภัณฑ์ปิดผนึก และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
ฉลากโภชนาการคืออะไร
ฉลากโภชนาการ คือ แผ่นฉลากที่แสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ทางโภชนาการที่มีการติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีวางขายในท้องตลาด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นฉลากสินค้าที่มีการแสดงข้อมูลต่าง ๆ ลงในกรอบสี่เหลี่ยมหรือกรอบข้อมูลโภชนาการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
ฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบ
เป็นการแสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานทั้งหมด พลังงานจากไขมัน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร น้ำตาล โซเดียม วิตามินเอ วิตามิน B1 วิตามิน B2 แคลเซียม และธาตุเหล็ก โดยเป็นข้อมูลที่แสดงบนฉลากได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนตามเกณฑ์ที่ทางกระทรวงฯ กำหนดไว้
ฉลากโภชนาการแบบย่อ
เป็นการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่สำคัญ เช่น พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ซึ่งจะเป็นการแสดงบนฉลากที่มีรูปแบบที่สามารถอ่านได้ง่าย พบได้บ่อยในการใช้ตารางหรือไอคอนสี และติดไว้ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์เพื่อเห็นได้ชัดเจน
ซึ่งการแสดงฉลากอาหาร ฉลากบรรจุภัณฑ์ของอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ มีประโยชน์หลากหลายอย่างสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากการคำนึงถึงพลังงานและสารอาหารที่ได้รับมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น การแสดงฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถเลือกซื้ออาหารที่มีสารอาหารเหมาะสม แถมยังสามารถช่วยเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน สามารถเลือกอาหารที่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะคุณค่าทางโภชนาการ
บอกต่อวิธีการอ่านฉลากอาหาร
การอ่านฉลากอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคทุกคนจะต้องศึกษาให้ดีก่อนเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารและปริมาณสารอาหาร สามารถอ่านได้ง่าย ไม่ซับซ้อน โดยจะสามารถอ่านข้อมูลได้จากรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้
หนึ่งหน่วยบริโภค
เป็นปริมาณอาหารที่ผู้ผลิตแนะนำให้รับประทานต่อ 1 ครั้ง ซึ่งจะผ่านการคำนวณจากค่าเฉลี่ยของคนไทยในการรับสารอาหารในปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะได้รับสารอาหารตามที่กำหนดไว้บนฉลากอาหาร
จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
เป็นจำนวนครั้งในการรับประทานจนหมด เมื่อรับประทานครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภค เช่น ชาสำเร็จรูปหนึ่งขวดมีปริมาณ 85 กรัม หนึ่งหน่วยบริโภคเท่ากับ 1 ช้อนชา หรือ 0.7 กรัม จึงสามารถรับประทานได้ 121 ครั้ง เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
เป็นปริมาณของพลังงานและสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อทานอาหารนั้น ๆ หนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งคิดเป็นร้อยละของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันอย่างเหมาะสม
ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
เป็นประมาณของสารอาหารในหนึ่งหน่วยบริโภคที่คิดเป็นร้อยละ เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน โดยจะคำนวณจากพลังงานที่คนไทยควรได้รับต่อวันเฉลี่ย 2,000 กิโลแคลอรี่
บทสรุป
เมื่อได้ทราบว่าฉลากอาหาร ฉลากสินค้ามีอะไรบ้าง? และมีวิธีการดูอย่างไร? เชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการทุกคนให้ความสำคัญกับการดูฉลากต่าง ๆ เหล่านี้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงข้อมูลต่าง ๆ จากฝั่งของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นผลดีกับทางผู้บริโภค เพื่อให้รับรู้ถึงข้อมูลต่าง ๆ บนฉลากสินค้าของกินที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด
สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มคนไหนที่ต้องการฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการที่มีคุณภาพ มีความสวยงาม และมีข้อมูลครบถ้วน สามารถติดต่อได้ที่ Home Packaging ซึ่งเป็นร้านรับทำสติ๊กเกอร์ สามารถออกแบบและพิมพ์สติ๊กเกอร์ได้อย่างมีคุณภาพ และให้ความสำคัญกับวัสดุที่นำมาเลือกใช้ ในราคาที่จับต้องได้และเหมาะสมมากที่สุด